10 array function ที่ใช้บ่อย ในภาษา PHP
อาเรย์ (Array) คือประเภทข้อมูลที่มีการเก็บข้อมูลเป็นชุด เรียงต่อกันในหน่วยความจำ อาเรย์เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งในภาษา PHP ที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งค่า อาเรย์จะช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่เราต้องการจัดการข้อมูลประเภทเดียวกันเป็นจำนวนมากๆ ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการเก็บยี่ห้อรถยนต์ทั้งหมด 10 ยี่ห้อ การใช้อาเรย์จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเก็บข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
1. array() เป็น function ที่ใช้สร้างอาเรย์ โดยนำข้อมูลมาสร้างผ่าน array()
ยกตัวอย่างเช่น array(‘toyota’,’honda’,’mazda’,’nissan’)
2. is_array() เป็น function ที่ใช้ตรวจสอบว่าเป็นตัวแปรประแภท array หรือไม่ โดย จะมีการ return ค่า TRUE ถ้าเป็นตัวแปรประเภท array และจะ return ค่า FALSE ถ้าไม่เป็นตัวแปรประเภท array
3. in_array() เป็น function ที่มีไว้สำหรับค้นหาตัวแปรที่เราต้องนำมาใช้ ในกลุ่มอาเรย์นั้นๆ โดยถ้าหากมีค่าของตัวแปรที่ค้นหาอยู่อาเรย์ ก็จะมีการ return ค่าเป็น TRUE และถ้าไม่มีค่าตัวแปรอยู่ในนั้นก็จะ return ค่าออกมาเป็น FALSE
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array(‘toyota’,’honda’,’mazda’,’nissan’);
In_array(‘toyota’,$car);
4. array_merge() เป็น function ที่ใช้ต่อข้อมูลประเภทอาเรย์ เป็นการนำอาเรย์ไปเพิ่มในอาเรย์ ซึ่งประเภทข้อมูลต้อเป็นอาเรย์เหมือนกัน
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array(‘toyota’,’honda’,’mazda’,’nissan’);
$color = array(‘black’,’white’,’red’);
array_merge($cat,$color);
5. array_keys() เป็น function ที่จะคืนค่า key โดยจะมีตั้ง 0 หรือ เป็น key ของอารเรย์นั้นๆ
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array(0 => ’toyota’,1 => ’honda’,2 => ’mazda’,3 => ’nissan’);
array_keys($car);
6. array_key_exists() เป็น function ที่ใช้ในการตรวจสอบว่ามี key ที่ระบบอยู่ในอาเรย์หรือไม่ โดยจะมีการ return ค่ากลับเป็น TRUE หากมี key ที่ระบุอยู่ในอาเรย์และจะ return ค่าเป็น FALSE หากไม่มี key อยู่ในอาร์เรย์
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array( ’toyota’ => ‘red’,’honda’ => ‘black’,’mazda’ => ‘white’, ’nissan’ => ‘blue’);
array_key_exists(“toyota”,$car);
7. array_shift()
เป็น function ที่ใช้ลบ value ออกจากอาเรย์ในตำแหน่งแรกสุด
ตัวอย่างรูแปบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array(‘toyota’,’honda’,’mazda’,’nissan’);
array_shift($car);
8. array_push() เป็น function เพิ่มข้อมูลลงไปในตำแหน่งสุดท้ายของอาเรย์
9. array_pop() เป็น function ที่ใช้ลบ value ออกจากอาเรย์ในตำแหน่งท้ายสุดของอาเรย์
10. array_values() เป็น function ที่ใช้คืนค่า key ในอาเรย์โดยจำมีค่าตั้งแต่ 0 เป็นต้นไป
ตัวอย่างรูปแบบการใช้งาน ฟังก์ชั่น
$car = array(‘toyota’,’honda’,’mazda’,’nissan’);
array_values($car);
ผลลัพธ์ที่ได้ [0] => Toyota
[1] => honda
[2] => mazda
[3] => nissan
Write a Comment