เขียน Meta Tag อย่างไร ให้ค่า CTR% เพิ่ม?
Meta Tag คืออะไร?
คือ คำอธิบายที่บ่งบอกรายละเอียดเนื้อหาของ 1 หน้าเว็บไซต์ โดยการย่อเนื้อหาลงมาให้สั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเว็บไซต์นี้ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอะไร? โดยในส่วนนี้จะไม่ได้ถูกแสดงไว้หน้าเว็บไซต์โดยตรง แต่จะมีแสดงไว้หน้าการค้นหาของเว็บ Search Engine นอกจาก Meta Tag จะเป็นคำอธิบายรายละเอียดแล้วยังเป็นการอธิบายถึงภาพรวมของเว็บไซต์ต่อผู้ค้นหา และยังมีส่วนช่วยให้ Robot ของ Search Engine เก็บข้อมูลเหล่านี้ไปประมวลผลเพื่อใช้ในการจัดอันดับของเว็บไซต์ได้ด้วย
เราจะเขียนหรือไม่เขียน Meta Tag ก็ได้ หากเราไม่เขียน Meta Tag เว็บ Search Engine จะทำการเลือกข้อความหรือเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ไปใส่แทนให้ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับเนื้อหาหลักหรือใจความสำคัญของเว็บไซต์ก็ได้ ดังนั้นการเขียน Meta Tag ให้ชัดเจนและตรงกับใจความสำคัญของเว็บไซต์ จะส่งผลดีให้กับเว็บไซต์เรามากกว่า
เทคนิคการเขียน Meta Tag ให้ได้ค่า CTR% สูง ต้องทำอย่างไร?
• หลีกเลี่ยงการใส่คำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อที่ยาวจนเกินพอดี
การใส่คำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อที่จะแสดง ไม่ควรเกิน 160 ตัวอักษร เพราะหากตัวอักษรมากเกินไป จะทำให้หน้าที่แสดงออกมาเป็นรูปแบบ “…..” แทน ซึ่งอาจทำให้คีย์เวิร์ดที่ใส่ไปในข้อความไม่ถูกแสดงและมีผลต่อการทำ SEO อีกด้วย
- ไม่ใช้คำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อซ้ำกัน
หากคุณใส่คำอธิบายเนื้อหาแบบย่อซ้ำ ๆ กัน จะส่งผลต่อการทำ SEO อย่างแน่นอน ถึงแม้หัวเรื่องจะแตกต่างกันมากแค่ไหน แต่เมื่อผู้อ่านได้มาเจอกับการอธิบายอย่างย่อที่ซ้ำกัน ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านตัดสินว่าเนื้อหาภายในเว็บนั้นซ้ำกัน และไม่เกิดความสนใจที่จะกดเข้าไปภายในเว็บไซต์ของคุณ
- เลือก Keyword ที่ใช่เราที่สุด
การค้นหาคีย์เวิร์ดในคำอธิบายเนื้อหาอย่างย่อ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเราสามารถหาได้จากโปรแกรมการค้นหาคีย์เวิร์ด เช่น Google Trend, Google Keyword Planner ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำคีย์เวิร์ดมาเปรียบเทียบ ในเรื่องของจำนวนการค้นหา และวัดค่าความนิยมได้ เพื่อให้เราสามารถเลือกคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ของเรามากที่สุด
- ใส่ Keyword ให้พอดี
การใส่คีย์เวิร์ดลงในคำอธิบายเนื้อหาแบบย่อนั้น ไม่ควรใส่มากเกินไป จนทำให้เนื้อหาไม่มีความสอดคล้องกัน และทำให้ผู้อ่านเกิดความไม่เข้าใจ ไม่สนใจในเนื้อหาและทำให้ผู้อ่านตีความเนื้อหาไปในทางลบ
- ใส่ข้อความกระตุ้นความสนใจ
การใส่ข้อความกระตุ้นความสนใจ อาจใช้ข้อความในรูปแบบการตั้งคำถาม ใช้คำเชิญชวน หรือจะใช้เป็นคำในรูปแบบ Call to Action เช่น ทดลองฟรี คุณรู้หรือไม่ว่า? เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนใจที่จะติอตามเข้ามาอ่านเนื้อหาต่อในเว็บไซต์
Write a Comment